เครื่องคอริ่ง - เครื่องเจาะคอนกรีต
เครื่องคอริ่งหรือเครื่องเจาะคอนกรีต เป็นเครื่องเจาะพื้นคอนกรีตหรือผนังคอนกรีตโดยเฉพาะ โดยเป็นเครื่องจักรสำหรับเจาะปูนที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลงานที่การเจาะที่สวยงาม พื้นผิวรูเรียบเนียน แตกต่างจากการเจาะด้วยการกระแทก อีกทั้งยังเป็นเครื่องเจาะที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอีกด้วย
เครื่องคอริ่งคืออะไร ?
เครื่องคอริ่ง (Coring Machine) คือ เครื่องมือสำหรับเจาะรูในพื้นที่ที่เป็นปูนหรือคอนกรีต ใช้ได้กับพื้นหรือผนังทั้งถนน อาคารและโครงสร้างต่าง ๆ ในงานก่อสร้าง โดยชื่อ “เครื่องเจาะปูน” ชนิดนี้มาจากการวิธีการเจาะที่เรียกว่า “การคอริ่ง (Coring)” เป็นวิธีตัดเหล็กในเนื้อปูนให้เรียบเนียน รวดเร็ว มีความแม่นยำสูง มีพื้นผิวเรียบเนียนไม่ทำลายโครงสร้างโดยรอบ เครื่องเจาะคอริ่งเป็นเครื่องจักรที่ทำงานโดยอาศัยน้ำเป็นส่วนประกอบหลักหรือที่เรียกว่าการเจาะเปียก
เครื่องคอริ่งเจาะคอนกรีต T-REX มีข้อดีอย่างไร ?
- เจาะรูปูนและคอนกรีตได้อย่างรวดเร็ว
- เจาะรูผ่านเหล็กภายในปูนได้ภายในครั้งเดียว
- เจาะรู้ได้ลึกหลายเมตร (โดยใช้อุปกรณ์เสริมที่เหมาะสมกับเครื่องคอริ่ง)
- เจาะรูหรือตัดได้เป็นวงกว้างไม่จำกัดเรียกว่า การคอริ่งเปิดช่อง
- เจาะรูได้หลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็ก 12 มิลลิเมตร (เท่าแท่งดินสอ) ไปจนถึง 12 นิ้ว
- เจาะพื้นผิวแข็งได้หลายประเภท ไม่จำกัดเพียงปูนหรือคอนกรีต
- ได้ผิวรูเรียบเนียนสวยงาม ไม่มีรอยแตกร้าว
- ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและโครงสร้างอาคาร
เครื่องคอริ่งเหมาะกับการใช้กับงานแบบไหน ?
เครื่องคอริ่งและกระบอกคอริ่ง เหมาะสำหรับเจาะรูสิ่งก่อสร้างและวัสดุที่มีเนื้อแข็ง เช่น ปูน คอนกรีตเสริมเหล็ก หิน, อีพ็อกซี่ กระเบื้องและแอสฟัส ทำให้เครื่องคอริ่งคอนกรีตไม่เหมาะกับวัสดุเนื้ออ่อน เช่น ไม้ ยาง พลาสติกและผ้า
จุดเด่นที่ทำให้เครื่องเจาะคอนกรีตคอริ่งเหมาะสำหรับการเจาะปูน เนื่องจากฟันคอริ่งมีส่วนผสมของเพชรซึ่งมีความแข็งแรงเหมาะกับการตัดหรือเจาะวัสดุที่เป็นของแข็งได้เป็นอย่างดี โดยเครื่องคอริ่งที่ใช้วิธีการตัดแบบขัดเพื่อตัด มักจะทำงานได้ดีกว่าการตัดประเภทอื่น เช่น การตัดด้วยคม (ดอกสว่านเจาะไม้) การตัดด้วยการกระแทก (ดอกสว่านเจาะปูน) เนื่องจากวิธีตัดเหล่านี้เป็นการตัดเจาะที่รุนแรงกว่าทำให้รูที่ตัดแล้วไม่เรียบเนียนเท่ากับการคอริ่ง
ถึงแม้ว่าเครื่องเจาะคอริ่งจะเป็นเครื่องจักรที่เจาะรูคอนกรีตได้ดีมากที่สุด ผู้รับเหมาก่อสร้างมักนำไปใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับคอนกรีตหลายรูปแบบ แต่อย่างไรก็ตามการคอริ่งเป็นวิธีที่ไม่เหมาะกับการเจาะรูบนพื้นไม้กระดาน เนื่องจากฟันคอริ่งไม่มีส่วนแหลมคมทำให้เจาะไม้ซึ่งมีความแข็งไม่มากเท่ากับเนื้อคอนกรีตจึงเจาะเข้าเนื้อไม้ได้ยากกว่า
อุปกรณ์ที่ใช้ในการคอริ่งมีอะไรบ้าง ?
อุปกรณ์ที่ใช้ในการคอริ่งแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่ เครื่องคอริ่งและกระบอกคอริ่ง โดยตัวเครื่องคอริ่งเป็นตัวสร้างแรงที่ใช้หมุน จากนั้นจึงกดกระบอกคอริ่งลงไปยังวัสดุที่ต้องการเจาะ โดยหลังจากการเจาะจะมีผลลัพธ์ดังต่อไปนี้
- ชิ้นส่วนที่ถูกเจาะออกมาเป็นทรงกระบอก โดยชิ้นส่วนเหล่านี้เรียกว่า “ก้อนคอริ่ง” หรือ “ก้อนปูน”
- รูเจาะเรียบเนียน สวยงาม แตกต่างจากการเจาะปูนด้วยวิธีอื่น ๆ
การคอริ่งสามารถใช้ได้ในหลายวัตถุประสงค์ เช่น งานประปา งานก่อสร้าง เป็นการเจาะรูเพื่อร้อยท่อ ผ่านท่อหรือผนัง ในขณะที่การคอริ่งพื้นถนนจะเป็นการเจาะเพื่อนำ “ก้อนคอริ่ง” เป็นก้อนตัวอย่างไปตรวจสอบคุณภาพของพื้นถนนต่อไป
ผู้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าเครื่องคอริ่งทำงานโดยใช้กระบอกคอริ่งเป็นหลัก แต่ที่จริงแล้วเครื่องคอริ่งเจาะคอนกรีตสามารถเจาะผ่านวัสดุของแข็งโดยใช้ “ฟันคอริ่ง” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ติดอยู่ที่ปลายกระบอก มีลักษณะเป็นซี่สี่เหลียม ไม่แหลมคม สามารถสัมผัสได้โดยไม่เป็นอันตราย
ทั้งนี้ฟันคอริ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีส่วนผสมของ “ผงเพชร” ซึ่งมีความแข็งแรงสูง ทำให้เจาะวัสดุเนื้อแข็งได้แทบทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น คอนกรีต เหล็ก หินและกระเบื้อง ฟันคอริ่งยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกว่า ดอกเจาะฟันเพชรหรือดอกเจาะหัวเพชร ซึ่งเรียกตามผงเพชรที่ผสมอยู่ในฟังคอริ่งนั่นเอง
การคอริ่งมีประโยชน์อย่างไร ?
“การคอริ่ง” ถือเป็นวิธีการเจาะรูงานก่อสร้างแบบมาตรฐานที่ได้รับความนิยมในวงการวิศวกรรมหรือวงการก่อสร้างทั่วโลก เนื่องจากเป็นเจาะรูอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีประกายไฟหรือการสั่นสะเทือนจึงใช้งานได้อย่างปลอดภัยกว่าอุปกรณ์ประเภทอื่น ๆ
การเจาะปูนประเภทนี้เป็นการใช้ “วิธีเจาะแบบขัด” จึงเจาะได้อย่างนิ่มนวลแตกต่างจากการเจาะแบบกระแทกที่ทิ้งร่องรอยไว้รอบบริเวณพื้นผิวการเจาะ อีกทั้งการคอริ่งมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักในการเจาะเพื่อช่วยลดความร้อนและช่วยให้เศษวัสดุติดกับฟันคอริ่งน้อยลงช่วยป้องกันความเสียหายต่อส่วนที่ลึกที่สุดของรู
นอกจากนี้ฟันเพชรหรือฟันคอริ่งยังมีประโยชน์ทำให้การเจาะคอริ่งประยุกต์ใช้กับงานก่อสร้างและวัสดุได้หลายแบบ ทั้งการเจาะหลุมลึกได้หลายเมตรหรือเจาะรูต่อกันเพื่อเปิดช่องให้กว้างขึ้นก็สามารถทำได้ผลดีและรวดเร็วกว่าวิธีแบบเดิม ๆ