เครื่องจี้ปูน - สายจี้คอนกรีต

เครื่องจี้ปูน สายจี้คอนกรีต เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างแรงสั่นสะเทือนซึ่งช่วยให้น้ำส่วนเกินภายในคอนกรีตลอยขึ้นมา ช่วยให้ปูนที่เทแล้วจับตัวกันได้ดีมากยิ่งขึ้น เป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับคอนกรีตไม่ให้แตกร้าวหรือเสียหายก่อนเวลาอันควร

เครื่องจี้ปูน เครื่องจี้คอนกรีต คืออะไร?

เครื่องจี้ปูนหรือเครื่องจี้คอนกรีต คือ เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการเทปูน เทคอนกรีต มีลักษณะคล้ายเครื่องสูบน้ำ มีเครื่องยนต์ขนาดเล็กเป็นเครื่องต้นกำลังและต่อสายจี้ปูน (สายที่สั่นเมื่อมีการหมุนแกนในสาย) เพื่อใช้จุ่มลงในคอนกรีต การใช้สายจี้ปูนช่วยให้พื้นคอนกรีตบริเวณรอบ ๆ หัวจี้ตกตะกอนได้ ซึ่งเป็นวิธีที่คุ้มค่า ช่วยให้คอนกรีตคงทนมากขึ้นในระยะยาว

ทำไมต้องใช้เครื่องจี้ปูน?

เหตุผลสำคัญที่ทำให้เครื่องจี้ปูนมีบทบาทอย่างมากในงานเทคอนกรีต คือ เมื่อเทคอนกรีตที่ผึ่งผสมเสร็จและยังไม่จับตัวจะเกิดช่องว่างในเนื้อคอนกรีตมีลักษณะคล้ายรังผึ้ง คอนกรีตจะลักษณะเหมือนโคลนและมีฟองอากาศผสมอยู่ในเนื้อคอนกรีต หากปล่อยไว้จะทำให้คอนกรีตแข็งแรงทนทานน้อยลง มีอายุการใช้งานสั้นกว่าปกติ ดังนั้นเครื่องจี้ปูนจะช่วยให้อากาศลอยขึ้นมารอบ ๆ สายจี้ ซึ่งเป็นอากาศที่ติดอยู่ลอยขึ้นมาที่ผิวคอนกรีต ช่วยให้เนื้อคอนกรีตเกาะตัวกันแน่นขึ้นจับตัวกันได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้คอนกรีตแข็งแรงคงทนมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้เครื่องจี้ปูนมีหลายขนาดแตกต่างกันตามการใช้งานที่เหมาะสม บางเครื่องมีขนาดเล็กและใช้พลังงานจากไฟฟ้าในการขับเคลื่อนมอเตอร์ ขณะที่บางรุ่นมีขนาดใหญ่และใช้พลังงานจากเครื่องยนต์ รวมไปถึงรุ่นพิเศษที่มีการทดรอบเพิ่มเพื่อให้มีการสั่นถี่สูงกว่าปกติ ทำให้ใช้เวลาจี้สั้นลง สั่นเป็นบริเวณกว้างขึ้น เช่น เครื่องจี้ปูน T-REX รุ่นความถี่สูงรุ่นใหม่ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ การเลือกเครื่องจี้คอนกรีตที่เหมาะสมจึงช่วยให้คอนกรีตมีคุณภาพดีขึ้นได้

เครื่องจี้ปูน เครื่องจี้คอนกรีต มีแบบไหน ทำงานยังไง ?

เครื่องจี้ปูนมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เครื่องยนต์ หรือลม แต่เครื่องจี้ทุกประเภทใช้หลักการสั่นไปที่คอนกรีตเช่นเดียวกัน ใช้งานโดยการจุ่มลงไปในคอนกรีตและอาศัยความสั่นสะเทือนให้คอนกรีตจับตัวกัน เครื่องจี้ปูนจึงสามารถแบ่งออกตามรูปแบบการสั่นได้ 3 ประเภทดังนี้

1. การจี้หรือการสั่นสะเทือนที่แบบหล่อปูน

เป็นการสั่นของแบบหล่อที่บรรจุปูนมักใช้ในการก่อสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป เช่น พื้นพรีแคส ผนังพรีแคส สำหรับอาคาร บ้านน็อกดาน์หรือเซกเมนท์ รวมไปถึงคอนกรีตที่ต้องประกอบเป็นชิ้นต่าง ๆ  ซึ่งใช้วิธีติดตั้งเครื่องสั่นกับด้านนอกของแบบ (หล่อคอนกรีต) ฟอร์มคอนกรีต มักติดตั้งตามจุดต่าง ๆ ทั่วแบบหล่อปูนและจะเว้นระยะห่างกันต่อตัวประมาณ 6 ฟุต เพื่อให้แรงสั่นสะเทือนกระจายอย่างทั่วถึง

2. การจี้หรือการสั่นสะเทือนที่พื้นผิวคอนกรีต

การสั่นสะเทือนบนพื้นผิวคอนกรีตเกิดจากแผ่นพื้นผิวเครื่องสั่นขนาดใหญ่หรือที่เรียกว่า “จัมเปอร์” เมื่อแนบกับผิวคอนกรีตหลังเทแล้ว แรงสั่นของแผ่นจะถูกส่งไปยังพื้นผิวช่วยให้พื้นผิวเรียบเนียน แต่มีข้อจำกัดที่ความลึกของพื้นไม่เกิน 6 นิ้ว

3. การจี้ในปูนหรือการสั่นสะเทือนภายใน

การจี้ประเภทนี้เป็นประเภทที่เห็นได้บ่อยที่สุด เป็นการจี้คอนกรีตภายในมีจุดเด่นที่ทำงานง่าย ใช้กำลังคนน้อย เพียงเปิดเครื่องจี้และลากสายจี้ปูนที่มีลักษณะคล้ายโพรบซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งยาวจุ่มลงไปลงในคอนกรีตเปียก จากนั้นค่อย ๆ ถอนออกและทำซ้ำแบบนี้ไปทั่วทุกพื้นที่

ต้องจี้ปูนนานแค่ไหน และมีเทคนิคการจี้ปูนยังไง ?

คอนกรีตส่วนใหญ่เมื่อเทลงในแบบแล้วควรใช้การสั่นหรือการจี้อย่างเหมาะสม เทคนิคที่ดีที่สุดในการใช้ เครื่องจี้ปูน คือจุ่มหัวจี้ลงในคอนกรีตจนเกือบสุดที่ลึกที่สุด ถือไว้ประมาณ 10 วินาที หลังจากนั้นค่อย ๆ ถอนหัวจี้ขึ้นมาผิวอย่างช้า ๆ ในอัตราประมาณ 1-3 นิ้วต่อวินาที ควรจี้คอนกรีตในตำแหน่งเดิมจนไม่มีฟองลอยขึ้นมาหรือมีน้อยที่สุด ควรเพิ่มระดับสั่นโดยเร่งเครื่องยนต์หรือเครื่องจี้ให้แรงมากขึ้น จะช่วยให้จี้ได้ในรวดเดียวโดยไม่จำเป็นต้องจี้ซ้ำ

ควรจี้ทับรัศมีการจี้ก่อนหน้าทุกครั้งในการจี้จุดต่อไป หลักการง่าย ๆ คือรัศมีของการสั่นรอบหัวจี้ มีค่าเป็น 4 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางหัวจี้ที่ใช้ ควรหยุดจี้เมื่อไม่มีฟองอากาศลอยขึ้นมาจากเนื้อคอนกรีต นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังคือไม่ควรถือหัวจี้ในคอนกรีตนานเกินไปเพราะน้ำและส่วนประกอบโดยรวมจะแยกตัวออกจากกัน ทำให้เกิดปัญหากับความแข็งแรงและความสวยงามของคอนกรีตได้

ก่อนจี้ปูนต้องเตรียมตัวอย่างไรให้พร้อมก่อนเทปูน?

นอกจากเทคนิคการจี้ปูนที่ถูกวิธีแล้ว การเตรียมตัวก่อนการเทปูนควรเตรียมเครื่องจี้ปูนและเครื่องสำรองไว้ให้พร้อม เครื่องสำรองนั้นเตรียมไว้ในกรณีที่เครื่องจี้ตัวแรกมีปัญหา เพราะหลังจากเทปูนแล้วปูนจะเริ่มเซ็ตตัวในทันทีและจะแข็งตัวในเวลาเพียงไม่กี่นาที หากเกิดปัญหาขึ้นในช่วงเวลานี้อาจหาเครื่องจี้ปูนมาแทนที่ไม่ทันและไม่สามารถจี้ปูนใหม่ได้

ระหว่างการจี้ปูน ควรจุ่มหัวจี้ในแนวตั้งฉากให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เครื่องสั่นอย่างมีประสิทธิภาพและไล่อากาศออกได้มากที่สุด นอกจากนี้ไม่ควรงอสายจี้ปูนมากเกินไปเพราะอาจทำให้เครื่องจี้เสียหาย หลีกเลี่ยงการจี้เหล็กหรือแบบหล่อ ควรหาที่วางตัวเครื่องจี้หรือถือตัวเครื่องให้ได้ระดับที่เหมาะสม ไม่นอนเครื่องเพราะจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้

คำแนะนำอื่น ๆ การจี้ปูน

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ วาง Box Out และ Sleeve ถูกตำแหน่งแล้ว เพื่อป้องกันความผิดพลาดเพราะไม่สามารถกลับมาวางได้หลังจากเทคอนกรีตไปแล้ว
  • ระวังรอยต่อของปูนที่เทชุดก่อนเย็น ดังนั้นควรจี้เข้าไปในขอบโซนที่เทปูนก่อนหน้าอย่างน้อย 6 นิ้ว เพราะรอยต่อขอบปูนชุดก่อนจะเริ่มเซ็ตตัวและเย็นลง ดังนั้นเมื่อคอนกรีตชุดใหม่ถูกเทต่อและทับ หรือชนกับชุดปูนที่เทก่อนหน้าซึ่งแข็งตัวกว่าแล้ว หากไม่จี้เข้าไปที่ขอบปูนชุดก่อนหน้า ปูนทั้งสองชุดจะไม่เชื่อมกันหรือไม่เป็นเนื้อเดียวกันได้ดี เมื่อปูนแห้งก็อาจเกิดรอยร้าวที่ตรงรอยต่อได้
  • ระวังอย่าให้คอนกรีตทรุดตัวต่ำภายใต้การสั่นสะเทือนหรือในระหว่างการจี้ สามารถใช้ Slump เป็น ตัวชี้วัดความสามารถของคอนกรีต เนื่องจากคอนกรีตที่ทรุดตัวต่ำจะแข็งแรงน้อยกว่าจึงต้องใช้แรงจี้มากยิ่งขึ้น